09 มีนาคม 2552

พระราชบัญญัติ

ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ.. ๒๕๕๐

------------------

ภูมิพลอดุลยเดช ป..

ให้ไว้ ณ. วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

เป็นปีที่ ๖๒ ในรัชกาลปัจจุบัน


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราช

โองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพ

คนพิการ


จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำ

แนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้


มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติส่งเสริมและ

พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.. ๒๕๕๐”


มาตรา ๑ พระะราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ

ในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป


มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

.. ๒๕๓๔


มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

คนพิการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยืน การเคลื่อนไหว

การสื่อสาร จืตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบ

กับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด

เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป

ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ

มนุษย์ประกาศกำหนด


การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ” หมายความว่า การเสริมสร้างสมรรถภาพหรือความ

สามารถของคนพิการให้มีสภาพที่ดีขึ้น หรือดำรงสมรรถภาพหรือความสามารถที่มีอยู่เดิมไว้

โดยอาศัยกระบวนการทางการแพทย์ การศาสนา การศึกษา สังคม อาชีพ หรือกระบวนการ

อื่นใด เพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสทำงาน หรือดำรงขีวิตในสังคมอย่างเต็มศักยภาพ


การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต” หมายความว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

การจัดสวัสดิการ การส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิ การสนับสนุนให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตอิสระ

มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป มีส่วนร่วมทางสังคมอย่างเต็มที่และ

มีประสิทธิภาพ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้


หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรมส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่าง

อื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราช

บัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นๆของรัฐ


องค์การตนพิการแต่ละประเภท” หมายความว่า องค์กรสมาชิกระดับชาติตามประเภท

ความพิการที่ได้แจ้งชื่อไว้กับสำนักงานตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด


กองทุน” หมายความว่า กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ


คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภวพชีวิตของคน

พิการแห่งชาติ


ผู้ดูแลคนพิการ” หมายความว่า บิดา มารดา บุคร สามี ภรรยา ญาติพี่น้อง หรือบุคคลอื่นใด

ที่รับดูแล หรืออุปการะคนพิการ


ผู้ช่วยคนพิการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งให้ความช่วยเหลือคนพิการเฉพาะบุคคลเพื่อให้

สามารถปฏิบัติกิจวัตรที่สำคัญในการดำรงชีวิตทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด


เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและคุณภาพชีวิตพิการแห่งชาติ


สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ


พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ


รัฐมนตรี”รัหมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้


มาตรา ๕ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติประกอบด้วย

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ

มนุษย์เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงเทค

โนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวง

แรงงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณผู้แทน

องค์การคนพิการแต่ละประเภทจำนวนเจ็ดคน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำนึงถึงจำนวนสมาชิกของ

องค์การคนพิการนั้น และผู้ทรงคุณวุฒิอีกหกคนซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ

ให้เลขาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้คณะกรรมการแต่งตั้งข้าราชการในสำนัก

งาน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ


มาตรา ๖ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

() เสนอนโยบาย แผนหลัก และโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

คนพิการ ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยว

ข้องรับไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ทั้งนึ้ นโยบายดังกล่าวต้องคำนึงถึงพันธกรณีระหว่าง

ประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่ด้วย

  1. ให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการออกกฎกระทรวงตามมาตรา๒๐ ()

มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ วรรคหนึ่ง และ มาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง

() เสนอความเห็นและให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับนโยบายหรือกฎหมาย

อื่นใดของรัฐที่อาจมีผลกระทบต่อคนพิการ

() กำหนดระเบียบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับความช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาคุณ

ภาพชีวิตคนพิการแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ

เงินอุดหนุน สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการต่างๆ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

  1. วินิจฉัยและมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือ ห้ามมิให้กระทำการที่มีลักษณะเป็นการเลือก

ปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ

  1. พิจารณาให้การสนับสนุนและช่วยเหลือกิจกรรมของหน่วยงานของรัฐและเอกชนเกี่ยวกับ

การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

  1. กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารกองทุน การจัดหาผลประโยชน์ และการจัดการกองทุน

โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ระเบียบเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อการส่งเสริม

และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ระเบียบเกี่ยวกับการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุน

ระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุน และการตัดหนี้เป็นสูญโดยความเห็นชอบ

ของกระทรวงการคลัง และระเบียบ

อื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

  1. จัดกิจกรรมหลักระดับชาติเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

  2. อนุมัติโครงการหรือแผนงานที่จะใช้เงินกองทุน ในส่วนที่เกินกว่าอำนาจหน้าที่ของคณะ

อนุกรรมการบริหารกองทุน

(๑๐) กำหนดมาตรฐาน ให้การรับรองหรือเพิกถอนการรับรององค์กรด้านคนพิการหรือองค์กร

อื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

(๑๑) ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด


มาตรา ๗ กรรมการซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีนับแต่วันที่

ได้รับแต่งตั้ง

เมื่อครบกำหนดวาระตามวรรคหนึ่ง ไห้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ภายในหกสิบวัน

ในระหว่างที่ยังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่ง

เพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่

กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้


มาตราที่ ๘ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจาก

ตำแหน่ง เมื่อ

  1. ตาย

  2. ลาออก

  3. เป็นบุคคลล้มละลาย

  4. เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ตวามสามารถ

  5. ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดย

ประมาทหรือความผิดลหุโทษ

  1. นายกรัฐมนตรีให้ออก


มาตราที่ ๙ ในกรณีที่กรรมการซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระให้นายก

รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนตำแหน่งก่อนวาระ ทั้งนี้ ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงแทนอยู่

ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่

ในตำแหน่ง ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของ

กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว


มาตรา ๑๐ การประชุมของคณะกรรมกวร ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

ของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม

ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธาน

กรรมการทำหน้าที่แทน ถ้ารองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่แทน

การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลง

คะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากับให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

ให้มีการประชุมคณะกรรมการไม่น้อยกว่าปีละสามครั้ง


มาตรา ๑๑ เพื่อประโยขน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้เป็นการคำนึง

ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามประเภทความพิการ คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนา

คุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัดในแต่ละจังหวัดและคณะอนุกรรมการอื่นเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติ

การอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

องค์ประกอบ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง

ของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนี่งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด

คณะอนุกรรมการแต่ละคณะตามวรรคหนึ่งให้มีคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามมาตรา

๑๙ อย่างน้อยหนึ่งคนเป็นอนุกรรมการ

ให้นำความในมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งโดย

อนุโลม


มาตรา ๑๒ ให้มีสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติขึ้นเป็นส่วนราชการ

ในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมตามมาตรา๑๘ วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบ

บริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) ..๒๕๔๕โดยมีเลขาธิการซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชา

ข้าราชการและบุคลากรของสำนักงาน

ให้เลขาธิการ เป็นข้าราชการพลเรีอนสามัญ ซึ่งการแต่งตั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ

พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ


มาตรา ๑๓ ให้สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1. ประสานงานและร่วมมือกับหน่วยงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ส่วน

ราชการ หน่วยงานอื่นๆ ของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศในการดำเนินงาน

การทำงานร่วมกันในระดับนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนงานด้านคนพิการเกี่ยวกับการส่งเสริมและ

พัฒนาคุณภาพคนพิการ

() สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมและเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับคนพิการ สถานการณ์

ของคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อประโยชน์ต่อการป้องกัน การรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

และจัดทำแผนงาน วิเคราะห์ วิจัย ติดตาม ประเมินผลเสนอต่อคณะกรรมการ

() จัดทำแผนงานเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเพื่อเสนอต่อคณะ

กรรมการ

() สนับสนุนให้มีการจัดตั้ง การดำเนินงาน การสร้างความเข้มแข็งขององค์กรด้านคน

พิการ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิคนพิการ ตลอดจนสนับสนุนและประสานงานให้หน่วย

งานของรัฐจัดงบประมาณให้แก่องค์การคนพิการ เพื่อดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน

พิการ

  1. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่นหรือตามที่

คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการมอบหมาย


มาตรา ๑๔ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ

หน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1. มีหนังสือแจ้งให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประะกอบการชี้แจ้งข้อเท็จจริงหรือความ

เห็นในการปฏิบัติงานส่งผู้แทนมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นมาประ

กอบการพิจารณา

  1. มีหนังสือแจ้งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือส่ง

เอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นมาประกอบการพิจารณา


มาตรา ๑๕ การกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ มาตราการ โครงการหรือวิธีปฏิบัติของหน่วย

งานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ

จะกระทำมิได้

การกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามวรรคหนึ่ง ให้

หมายความรวมถึงการกระทำหรืองดเว้นกระทำการที่แม้จะไม่ได้มุ่งหมายให้เป็นการเลือกปฏิบัติต่อ

คนพิการโดยตรง แต่ผลของการกระทำนั้นทำให้คนพิการต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับเพราะ

เหตุแห่งความพิการด้วย

การเลือกปฏิบัติที่มีเหตุผลทางวิชาการ จารีตประเพณี หรือประโยชน์สาธารณะสนับสนุน


ให้กระทำได้ตามความจำเป็นและสมควรแก่กรณี ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่ธรรมตามวรรค

หนึ่งและวรรคสอง แต่ผู้กระทำการนั้นจะต้องจัดให้มีมาตราการช่วยเหลือเยียวยาหรือรักษาซึ่งสิทธิ

หรือประโยขน์แก่คนพิการตามความจำเป็นเท่าที่จะกระทำได้


มาตรา ๑๖ คนพิการที่ได้รับหรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะที่เป็น

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการตามมาตรา ๑๕ มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการให้มีคำ

สั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามมิให้กระทำการนั้นได้ คำสั่งของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

การร้องขอตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ร้องในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด

ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ โดยให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเเสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงินให้แก่คนพิการที่

ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมได้ และหากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการนั้นเป็นการ

กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ศาลจะกำหนดค่าเสียหายในเชิงลงโทษให้แก่คน

พิการไม่เกินสี่เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงด้วยก็ได้

หลักเกณฑ์และวิธีการในการร้องขอและการวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่

คณะกรรมการกำหนด


มาตรา ๑๗ ในการใช้สิทธิตามมาตรา ๑๖ คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการอาจขอให้องค์กรด้าน

คนพิการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ร้องขอหรือฟ้องคดีแทนได้

การฟ้องคดีตามมาตรา ๑๖ วรรคสอง ไม่ว่าคนพิการเป็นผู้ฟ้องเองหรือองค์กรด้านคนพิการ

ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ฟ้องแทน ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม


มาตรา ๑๘ ให้สำนักงานเป็นสำนักงานทะเบียนกลางสำหรับคนพิการในกรุงเทพมหานคร

โดยมีเลขาธิการ เป็นนายทะเบียนกลางสำหรับจังหวัดอื่นให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง

ของมนุษย์ จังหวัดทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนจังหวัดสำหรับคนพิการในจังหวัดทำหน้าที่เป็น

สำนักงานทะเบียนจังหวัดสำหรับคนพิการในจังหวัดของคนอีกหน้าที่โดยมีพัฒนาสังคมและความ

มั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นนายทะเบียนจังหวัด


มาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการได้รับสิทธิมาตรา ๒๐ คนพิการอาจยื่นคำขอมีบัตรประจำตัว

คนพิการต่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนจังหวัด ณ.สำนักงานทะเบียนกลาง สำนักงานทะเบียน

จังหวัดหรือสถานที่อื่นตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

ในกรณีที่คนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถหรือใน

กรณีที่คนพิการมีสภาพความพิการถึงขั้นไม่สามารถไปยี่นคำขอด้วยตนเองได้ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์

ผู้อนุบาล หรือผู้ดูแลคนพิการ แล้วแต่กรณี จะยื่นคำขอแทนก็ได้ แต่ต้องนำหลักฐานว่าเป็นคนพิการ

ไปแสดงต่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนจังหวัดแล้วแต่กรณีด้วย

การยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการและการออกบัตร การกำหนดสิทธิหรือการเปลี่ยน

แปลงสิทธิ การขอสละสิทธิของคนพิการ และอายุบัตรประจำตัวคนพิการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์

วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียน


มาตรา ๒๐ คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็น

สาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ดังต่อไปนี้

  1. การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในการรักษา

พยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการและสื่อส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อปรับสภาพทางร่างกาย

จิตใจ อารมณ์ สังคม พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้นตามที่

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด

  1. การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือแผนการศึกษาแห่งชาติตามความ

เหมาะสมในสถานศึกษาเฉพาะหรือในสถานศึกษาทั่วไป หรือการศึกษาทางเลือกหรือการศึกษานอก

ระบบ โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการ และความช่วยเหลือ

อื่นใดทางการศึกษา สำหรับคนพิการให้การสนับสนุนตามความเหมาะสม

  1. การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การให้บริการที่มีมาตราฐาน การคุ้มครองแรงงาน

มาตรการเพื่อการมีงานทำ ตลอดจนได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ และบริการสื่อ

สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยี หรือความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อการทำงานและประกอบอาชีพ

ของคนพิการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกำหนด

  1. การยอมรับและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองอย่างเต็มที่และ

มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป ตลอดจนได้รับสิ่อำนวยความสะดวก

และบริการต่างๆที่จำเป็นสำหรับคนพิการ

  1. การช่วยเหลือให้เข้าถึงนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม การพัฒนาและบริการ

อันเป็นสาธารณะ ผลิตภัณฑ์ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต การช่วยเหลือทางกฎหมายและการจัด

หาทนายความว่าต่างแก้ต่างคดี ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

  1. ข้อมูลช่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการสื่อสาร สำหรับคนพิการ ทุกประเภท ตลอดจนบริการ

สื่อสาธารณะจากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ ตามหลักเกณฑ์วิธี

การและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนดในกฎกระทรวง

  1. บริการล่ามภาษามือตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

  2. สิทธิที่จะนำสัตว์นำทาง เครื่องมือหรืออุปกรณ์นำทาง หรือเครื่องช่วยความพิการ

ใดๆ ติดตัวไปในยานพาหนะหรือสถานที่ใดๆ เพื่อประโยชน์ในการเดินทาง และการได้รับสิ่ง

อำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะโดยได้รับการยกเว้นค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าเช่าเพิ่ม

เติมสำหรับสัตว์ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องช่วยความพิการดังกล่าว

  1. การจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

ในระเบียบ

(๑๐) การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การมีผู้ช่วยคนพิการ หรือการจัดให้มีสวัสดิการ

อื่น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ

ผู้ช่วยคนพิการ ให้มีสิทธิได้รับการลดหย่อน หรือยกเว้นค่าบริการ ค่าธรรมเนียมตาม

ระเบียบ ที่คณะกรรมการกำหนด

คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการ มีสิทธิได้รับการจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและการเลี้ยง

ดูจากหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่มีสถานสงเคราะห์เอกชนจัดที่อยู่อาศัยและสวัสดิการให้แล้ว รัฐ

ต้องจัดเงินอุดหนุนไห้แก่สถานสงเคราะห์เอกชนนั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ

กำหนดในระเบียบ

ผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับบริการให้คำปรึกษาแนะนำ ฝึกอบรมทักษะ การเลี้ยงดู การ

จัดการศึกษา การส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำตลอดจนความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อให้พึ่งตนเอง

ได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ

คนพิการและผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีหริอหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎ

หมายกำหนด

องค์กรเอกชนที่จัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรานี้มีสิทธิได้รับการลด

หย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีเป็นร้อยละของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด


มาตรา ๒๑ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและะพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้ราชการ

ส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ข้อกำหนด ระเบียบหรือประกาศ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไป

ตามพระราชบัญญัตินี้


มาตรา ๒๒ ให้หน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องใดมีหน้าที่ให้

การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามอำนาจหน้าที่นั้น


มาตรา ๒๓ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงานเรียกว่า “กองทุนส่งเสริมและ

พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” เพื่อเป็นทุนสำหรับการใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพ

ชีวิตคนพิการการส่งเสริมและการดำเนินงานด้านการสงเคราะห์ช่วยเหลือคนพิกาการฟื้นฟูสมรรถ

ภาพคนพิการ การศึกษาและการประกอบอาชีพของคนพิการ รวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนการ

ดำเนินงานขององค์กรที่เกียวช้องกับคนพิการ โดยจัดสรรให้อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง


มาตรา ๒๔ กองทุนประกอบด้วย

  1. ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ เงินงบประมาณ และรายได้ในกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ..๒๕๓๔ ที่โอนมาตามมาตรา ๔๒

  1. เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ทั้งนี้ ให้รัฐบาลจัดสรรให้เพียงพอแก่การส่งเสริมและพัฒนา

คุณภาพชีวิตคนพิการ

_ () เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ของกองทุน

() เงินรายได้จากการออกสลากหรือที่ได้มาจากการจัดกิจกรรม

() เงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการส่งเข้ากองทุนตามมาตรา ๓๔

() ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน

() รายได้จากการขาย การลงทุน หรือการหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินกองทุน

() เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน หรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมายหรือ

นิติกรรม

() รายได้บางส่วนจากภาษีของสินค้าและบริการที่เป็นสาเหตุแห่งความพิการตามที่กฎหมาย

กำหนด

(๑๐) รายได้อื่น

เงินและทรัพย์สินของกองทุนตามวรรคหนึ่ง ไม่ต้องส่งคลังเป็นเงินรายได้แผ่นดิน

การบริจาคเงินหรือทรัพย์สินเข้ากองทุน ให้ผู้บริจาคนำไปหัก ลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีได้

ตามที่กฎหมายกำหนด


มาตรา ๒๕ ให้มีคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวง

การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย

ผู้แทนกระทรวงแรงงาน ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงบ

ประมาณ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจำนวนเก้าคนในจำนวนนี้ต้อง

เป็นผู้แทนองค์การคนพิการอย่างน้อยเจ็ดคนเป็นอนุกรรมการ และให้เลขาธิการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ


มาตรา ๒๖ ให้คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. บริหารกองทุน รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการลงทุน การหาประโยชน์ และการจัดการ

กองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงคลัง

  1. พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน อนุมัติโครงการ กำหนดวงเงินและรายการค่าใช้จ่ายเพื่อสนับ

สนุนแผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามที่คณะอนุกรรม

การตามประเภทความพิการ คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด

หรือคณะอนุกรรมการยื่นเสนอ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

  1. รายงานสถานะการเงิน และการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการ ตามระเบียบที่คณะกรรม

การกำหนด


มาตรา ๒๗ ให้สมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยได้รับเงินสนับสนุนสำหรับ

ค่าใช้จ่ายใน การบริหารจัดการจากกองทุนตามหลักเกณฑ์ และวิธ๊การที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ


มาตรา ๒๘ การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุน และะการตัดหนี้เป็นสูญให้เป็นไป

ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง


มาตรา ๒๙ ให้คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบการเงิน ส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภาย

ในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี

ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปี แล้วทำรายงานผลการ

สอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการ


มาตรา ๓๐ ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนห้าคน ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้

ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ด้านการเงิน การประเมินผลและการส่งเสริมและพัฒนาคุณ

ภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งในจำนวนนี้จะต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการประเมินผลจำนวนสองคน และ

คนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามมาตรา ๑๙ อย่างน้อยหนึ่งคน เป็นกรรมการ โดยมีรองปลัดกระ

ทรวงการพัฒนาสังคมและคุณภาพของมนุษย์ซึ่ง ปลัดกระทรวงมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ

ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เป็นผู้แทนขององค์กรที่ได้รับเงินอุดหนุนจาก

กองทุนนี้


มาตรา ๓๑ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ของกองทุนมีอำนาจหน้าที่

ดังต่อไปนี้

  1. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน

  2. รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ

ให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนมีอำนาจเรียกเอกสาหรือ

หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อมาประกอบการ

พิจารณาประเมินผลได้

มาตรา ๓๒ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ วรรค

สาม มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะอนุกรรมการ

บริหารกองทุนตามมาตรา ๒๕ และคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน

ตามมาตรา ๓๐ โดยอนุโลม


มาตรา ๓๓ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้นายจ้างหรือ

เจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะของงานในอัตรา

ส่วนที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการหรือหน่วยงานชองรัฐ ดังนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงกำหนดจำนวนที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วย

งานของรัฐจะต้องรับคนพิการทำงาน


มาตรา ๓๔ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มิได้รับคนพิการเข้าทำงานตามจำนวน

ที่กำหนดตามมาตรา ๓๓ ให้ส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา ๒๔ () ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กำหนดจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ จะต้องนำเข้ากองทุน

นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนตามวรรคหนี่ง แต่มิได้ส่ง ส่ง

ล่าช้าหรือส่งเงินไม่ครบถ้วน ให้เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่ยังไม่ได้ส่งเข้า

กองทุน

นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ.ซึ่งรับคนพิการเข้าทำงานหรือส่งเงินเข้ากองทุนตาม

วรรคหนึ่ง มีสิทธิได้รับยกเเว้นภาษีเป็นร้อยละของจำนวนเงินค่าจ้างที่จ่ายให้แก่คนพิการหรือเงินที่ส่ง

เข้ากองทุน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามกฎหมายกำหนด


มาตรา ๓๕ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา ๓๓

หรือนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการไม่รับคนพิการเข้าทำงานตามมาตรา ๓๓ และไม่ประสงค์

จะส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา ๓๔ หน่วยงานของรัฐ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการนั้นอาจ

ให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลือ

อื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการแทนก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรม

การที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ


มาตรา ๓๖ เลขาธิการมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ อายัดทรัพย์สินของนายจ้างหรือเจ้า

ของสถานประกอบการ ซึ่งไม่ส่งเงินที่จะต้องส่งตามมาตรา ๓๔

การมีคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง จะกระทำได้ต่อเมื่อได้ส่งคำเตือนเป็นหนังสือโดย

ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ นำเงินส่งเข้ากองทุน หรือ

ส่งเงินที่ค้างจ่ายภายในเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างหรืดเจ้าของสถาน

ประกอบการได้รับหนังสือนั้น และนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการไม่ช่วยคนในเวลาที่กำหนด

หลักเกณฑ์และวิธีการอายัดทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กำหนด ทั้งนี้ ให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการตามประ

มวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแห่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม


มาตรา ๓๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฎกระทรวง เพื่อกำหนดลักษณะ

หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก หรือบริการในอาคารสถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่ง

หรือบริการสาธาณะอื่น ให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่ง หรือบริการสาธารณะอื่น ให้คนพิการสามารถ

เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่ง หรือผู้ให้บริการสาธารณะอื่น ซึ่งได้จัดอุปกรณ์

สิ่งอำนวยความสะดวก หรือ บริการตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษี หรือยกเว้นภาษีเป็นร้อย

ละของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายตามกฎหมายกำหนด


มาตรา ๓๘ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่จ้างคนพิการเข้าทำงานมากกว่าร้อยละหกสิบ

ของลูกจ้างในสถานประกอบการนั้น โดยมีระยะเวลาจ้างเกินกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันในปีภาษีใดมีสิทธิได้

รับยกเว้นภาษีเงินได้ในปีนั้น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด


มาตรา ๓๙ ให้สำนักงานมีอำนาจประกาศโฆษณาข้อมูลการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๓

มาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๕ ต่อสาธารณะอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

ในกรณีที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐจะพิจารณาให้สัมปทาน การส่งเสริมการลงทุน การประเมิน

เกียรติคุณ สินเชื่อ รางวัล เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดแก่นายจ้างหรือสถานประกอบ

การใด ให้นำข้อมูลที่ได้ประกาศตามวรรคหนึ่งมาประกอบการพิจารณาด้วย


มาตรา ๔๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๔ ต้องระวางโทษปรับไม่

เกินห้าพันบาท


มาตรา ๔๑ ให้ถือว่าบัตรประจำตัวคนพิการตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

..๒๕๓๔ เป็นบัตรประจำตัวคนพิการตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัตินี้


มาตรา ๔๒ ให้โอนบรรดาทรัพย์ สิทธิ หนี้ เงินงบประมาณ และรายได้ที่ประกอบเป็นกอง

ทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.. ๒๕๓๔ไปเป็น

ของกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามพระราชบัญญัตินี้

ให้โอนงบประมาณและบุคลากรของสำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ สังกัดสำนักงานส่ง

เสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ ตามที่รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาไปเป็น

ของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ


มาตรา ๔๓ ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน

พิการแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการตามพระราชบัญญัติ

การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ..๒๕๓๔ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับทำ

หน้าที่คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้

ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ


มาตรา ๔๔ ให้บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติ

การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ..๒๕๓๔ ยังคงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง

พระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ หรือ คำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้


มาตรา ๔๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รัฐมนตรีว่า

การกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุข

รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับ

ออกกฎกระทรวง ระเบียน หรือประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับ

ราชการของกระทรวงนั้น

กฎกระทรวง ระเบียบ หรือการประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้

บังคับได้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

นายกรัฐมนตรี



หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือโดยที่พระราชบัญญัติการฟื้นฟู

สมรรถภาพคนพิการ พ..๒๕๓๔ ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน สาระสำคัญและรายละเอียดเกี่ยวกับการ

สงเคราะห์และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน สมควรกำหนดแนว

ทางและปรับปรุงวิธีการในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีริตคนพิการให้มีความเหมาะสมยิ่งชึ้น และ

กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิประโยขน์และความคุ้นครองคนพิการเพื่อมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่

เป็นธรรมเพราะเหตุสภาพทางกายหรือสุขภาพรวมทั้งให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอัน

เป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐตลอดจนให้รัฐต้องสงเคราะห์คนพิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

และพึ่งตนเองได้จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น